-
เครื่องชี้เศรษฐกิจจังหวัดเดือนสิงหาคม 2563 บ่งชี้เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี มีสัญญาณชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยด้านอุปทาน (การผลิต) ชะลอตัวจากภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว โดยที่ภาคบริการหดตัว ตามจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจโรงแรมและนักท่องเที่ยวรวมที่หดตัวสูง ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมขยายตัว สำหรับด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) ชะลอตัวจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว ตามรายจ่ายประจำและลงทุนที่ขยายตัว ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบจากหมวดพลังงาน201 view 2020-11-02 09:25:43
-
ขอแสดงความยินดีกับ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี คนใหม่192 view 2020-11-02 08:51:10
- สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก 2020-11-02 07:25:19
- นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรฯ ร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาหอการค้าจังหวัด หอการค้าไทย ครั้งที่ 4/2559 2016-07-14 04:38:17
- หอการค้าอุดรฯ เตรียมจัด “ประกวดแผนธุรกิจ” ประจำปี 2559 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 2016-07-08 02:16:43
- หอการค้าอุดรฯ เตรียมจัด “สุดยอดการติวความรู้สู่มหาวิทยาลัย” ปีที่ 9 2016-07-08 02:00:37
- หอการค้าอุดรฯ จับมือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จัด “SME Expo Spring Up Thailand” 2016-07-08 01:45:52
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ถกประเด็นและติดตามความคืบหน้าโครงการในการประชุม กรอ.อุดรธานี 2016-07-07 09:29:38
- ดร.สมศักดิ์ ขจรเฉลิมศักดิ์ เข้ารับรางวัล "ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดยอดเยี่ยม" 2016-06-06 08:23:07
- หอการค้าจังหวัดอุดรธานี ขอเชิญร่วมงาน “เอสเอ็มอี มาร์เก็ตเพลส - ไทยช่วยไทยบายประชารัฐ” 2016-06-06 06:13:53
กกร.อุดรธานี ถกประเด็นเศรษฐกิจหาแนวทางแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19
- Details
- Category: ข่าวสารหอการค้า
- Hits: 205
กกร.อุดรธานี ถกประเด็นเศรษฐกิจหาแนวทางแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19 การเมือง และการว่างงาน
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 14.00 น. คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) อุดรธานี จัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3/2563 โดยมี นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานที่ประชุม มี นายวีรพงษ์ เต็งรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นายโกวิท จะระคร ประธานชมรมธนาคารจังหวัดอุดรธานี คณะกรรมการหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ และชมรมธนาคารฯ ร่วมประชุม ที่ห้องประชุมชั้น 2 หอการค้าจังหวัดอุดรธานี
การประชุมจัดขึ้นเพื่อให้องค์กรภาคเอกชนร่วมกันประชุมระดมความคิดเห็นในการผลักดันเศรษฐกิจจังหวัด และหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยการประชุมครั้งนี้ได้ร่วมกันหารือถึงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและแนวทางแก้ไข อาทิ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายส่งท้ายปี 2563 การช่วยเหลือ SMEs หลังมาตรการพักชำระหนี้สิ้นสุดลง การชะลอการคืนเงินกู้โดยขอให้ครอบคลุมตามความเหมาะสมของผู้ประกอบการแต่ละประเภท ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงาน รวมถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจและภาคเอกชนของไทยภายหลังวิกฤตโควิด 19 ผ่านพ้นไป เช่น สนับสนุนภาครัฐในการ Reskill-Upskill ให้แรงงานเพื่อตอบโจทย์อนาคตของประเทศไทย รักษาการจ้างงานเดิมของสถานประกอบกิจการโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยว และมาตรการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับนักศึกษาจบใหม่ เป็นต้น
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบันทั้ง สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สถานการณ์ทางการเมือง และปัญหาการว่างงาน ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ของการทำงานภาคเอกชนจะมุ่งเน้นเพียงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ปัญหาการว่างงาน ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานี คาดมีผู้ประสบปัญหาว่างงานกว่า 2 แสนคน ผลกระทบส่วนหนึ่งจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้แรงงานกลับบ้านและไม่สามารถกลับไปทำงานได้ จังหวัดกำลังศึกษาด้านการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งได้มีการศึกษาถึงการ Upskill การสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการ และ Reskill พัฒนาเพื่อยกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ทั้งนี้การขับเคลื่อนของภาครัฐยังมีปัญหาเรื่องแรกการจ้างงานระยะสั้นระยะแรก ผ่านกระทรวงอุดมศึกษาฯ (อว.) และหน่วยงานภาครัฐอื่น ยังไม่ตอบโจทย์ ขณะที่ระยะที่สองกำลังขับเคลื่อน ยังเป็นห่วงว่าจะตรงเป้ามากเพียงใด
ภาคการท่องเที่ยว ได้มีโอกาสลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน คีรีวงกต และวัดป่าภูก้อน โดยวัดป่าภูก้อนยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าสักการะในพระวิหาร ทำให้ขาดรายได้ในส่วนนี้ไป โดยได้นำเสนอเข้าสู่ภาครัฐเพื่อหาแนวทางแก้ไขแล้ว
"ภาคการท่องเที่ยว เดิมก่อนเกินสถานการโรคระบาดโควิด-19 จังหวัดอุดรธานีมีผู้โดยสารประมาณ 8,000 คนต่อวัน ช่วงเกิดโรคระบาด มีผู้โดยสารเหลือหลักร้อยคน ปัจจุบันผู้โดยสารเริ่มกลับมา มีผู้โดยสารประมาณวันละ 5,000 คนต่อวัน ส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นคือ การเปิดคำชะโนด ทำให้นักท่องเที่ยว นักเดินทางกลับมา เห็นได้ชัดว่าแหล่งท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง การท่องเที่ยว ปัจจุบันหอการค้าฯ กำลังหาแนวทางในการเปิด สปป.ลาว ให้สามารถเดินทางเข้าออกระหว่าง จังหวัดอุดรธานี - เวียงจันทน์ สปป.ลาว ได้เร็วขึ้น โดยได้นำเสนอเข้าสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ขอเปิดให้นักท่องเที่ยว นักเดินทางสามารถเดินทางเข้า-ออก และกักตัวไม่เกิน 7 วันได้หรือไม่ แต่ยังไม่มีโรงแรมเสนอตัวเป็นสถานที่กักตัวในอุดรธานี โดยคัดเลือกนักเดินทางที่มีพาสปอร์ต หากสามารถทำได้จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดการเดินทาง การท่องเที่ยวได้มากขึ้น ปัจจุบันตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มเป็นไปในทิศทางบวกแล้ว 40 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าหากสามารถดำเนินการได้ตามที่วางแผนไว้จะทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ยังได้เสนอการเพิ่มศักยภาพระบบขนส่งหลายรูปแบบ ให้คนที่เดินทางมาถึงอุดรธานีแล้ว จะเดินทางต่อไปยังที่หมายต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยอาจจะมีรถขนส่งโดยสารเชื่อมสนามบินอุดรธานีสู่คำชะโนด หรือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ โดยได้ขอความร่วมมือไปยังขนส่งจังหวัดในการหาแนวทางความเป็นไปได้ในการดำเนินการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว นักเดินทาง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่กำหนดไว้"
นายวีรพงษ์ เต็งรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า มองว่าปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในภาวะทรงตัว ในส่วนการแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จะเป็นลักษณะกลุ่มเล็กๆ ไม่มีความรุนแรงมากนัก คาดว่ามีผลกระทบค่อนข้างน้อยต่อภาวะการซื้อการขาย และประชากรยังคงมีกำลังซื้ออยู่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับหนึ่งแต่ไม่ได้ดีกว่าก่อนเกิดโรคระบาด เศรษฐกิจภาพรวมจังหวัดอุดรธานี หลังจากเกิดภาวะโรคระบาดตัวเลขเศรษฐกิจลดลงประมาณ 30-40% ภาพรวมเศรษฐกิจจังหวัดโดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับ 60-70% อาจจะติดขัดในเรื่องการส่งออกบ้าง ทั้งในเรื่องความสะดวกและระยะเวลาเล็กน้อย แต่ยังคงมีการส่งออกได้อยู่
ส่วนความคาดหวังในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ยังมองว่างบประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นการใช้จ่ายในพื้นที่ จากการติดตามข่าวทราบว่าภาครัฐจะมีงบประมาณในด้านการจ้างงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นทั้งในส่วนของผู้จบการศึกษาใหม่ ซึงควรจะเป็นงบประมาณที่สร้างและมีความต่อเนื่องให้สามารถดำเนินงานได้ในระยะยาวรวมถึงให้ไปสู่ในทุกระบบทุกภาคธุรกิจ ที่สำคัญคือภาครัฐควรมีงบประมาณกระตุ้นสำหรับภาคธุรกิจเพื่อให้มีกำลังในการจ้างแรงงานได้ต่อไป ในรูปแบบสิทธิประโยชน์ หรือสิทธิพิเศษต่างๆ
ส่วนของสภาอุตสาหกรรมฯ พยายามกระตุ้นการค้า การขายในจังหวัด จึงได้จัดโครงการ Motor Show ต่อเนื่อง หวังเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้
นายโกวิท จะระคร ประธานชมรมธนาคารจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ในส่วนมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายส่งท้ายปี 2563 ของรัฐบาล การขับเคลื่อนโครงการคนละครึ่ง มีประชาชนสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีค่อนข้างล่าช้า มีร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเพียง 4,500 ร้านค้า (เป้าหมายทั่วประเทศ 1 ล้าน ร้านค้า) ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการเมื่อเทียบกับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เดิมโดยกระทรวงมหาดไทย มีข้อสั่งการขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับรองร้านค้าท้องถิ่นที่ต้องการเข้าร่วมโครงการโดยธนาคารกรุงไทยไม่ต้องลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินโครงการได้รวดเร็วมากขึ้น แต่ในพื้นที่กลับไม่มีความคืบหน้ามากนัก ชมรมธนาคารฯ จึงได้เข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เพื่อขอความร่วมมือในการอำนวยความสะดวก โดยธนาคารกรุงไทยจะลงพื้นที่ทุกอำเภอในการประชาสัมพันธ์และรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมโครงการ ซึ่งรองผู้ว่าฯ พร้อมให้การสนับสนุนโดยจะมีข้อสั่งการ คือ 1. ให้แต่ละอำเภออำนวยความสะดวกในการจัดตั้งบูธของธนาคารกรุงไทย 2.ให้แต่ละอำเภอสั่งการให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์โครงการให้ร้านค้าท้องถิ่นรับทราบ เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ ได้สมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้น
นอกจากนี้ ชมรมธนาคารฯ ได้ประชาสัมพันธ์มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ อาทิ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว เพื่อเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องและลงทุนในกิจการ จำนวนเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย และสินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กิจการ หรือไถ่ถอนจากการขายฝากเอกชนที่ทำสัญญาขายฝากตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 31 ตุลาคม 2563 จำนวนเงินให้กู้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินของทางราชการ ทั้งนี้ไม่นำราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ที่มีมูลค่ามาคำนวณจำนวนเงินให้กู้ บุคคลธรรมดาให้กู้ตั้งแต่ 1-10 ล้านบาท นิติบุคคล ให้กู้ตั้งแต่ 1-50 ล้านบาท