-
คณะทำงานบริหารตราสัญลักษณ์เครื่องหมายบริการสินค้าจังหวัดอุดรธานี พิจารณาการขอใช้ตราสัญลักษณ์ฯ Udonthani Brand30 view 2021-02-01 05:00:48
-
อุดรธานี มอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวเมล็ดยาว ปีการเพาะปลูก 2563/6431 view 2021-02-01 04:49:06
- อุดรธานี ขับเคลื่อนการพัฒนาไมซ์ซิตี้ 2021-01-22 08:16:15
- คณะกรรมการจัดรูปที่ดินฯ ประชุมสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดิน 2021-01-22 08:08:10
- ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ประธานพิธีเปิดอาคารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดอุดรธานี 2021-01-22 06:28:36
- หอการค้าอุดรฯ เชิญร่วมโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ 2020-11-02 07:59:01
- การรถไฟแห่งประเทศไทย กับ ผลักดันโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2020-10-15 09:14:13
- มหกรรมการเงินอุดรธานี ครั้งที่ 8 2020-10-12 08:35:32
- อันตรายควันบุหรี่มือ 3 2020-06-02 08:32:21
- ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง 2020-06-02 08:27:39
สถานีรถไฟความเร็วสูงนานาชาติหนองคาย
- Details
- Category: ข่าวประชาสัมพันธ์ หอการค้า
- Hits: 71
สถานีรถไฟความเร็วสูงนานาชาติหนองคาย จุดเปลี่ยนถ่ายรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ ไทย-ลาว
รายละเอียดสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคายซึ่งสถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีที่สำคัญที่สุดของโครงการนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างประเทศ แต่โครงการนี้สถานีจะแยกกับโครงการรถไฟทางคู่ เพราะในโครงการทางคู่ใช้สถานีหนองคายเดิม แค่ปรับปรุงชานชาลา และทางข้ามชานชาลา บางส่วน แต่อย่างที่บอกว่าเป็นสถานีรถไฟนานาชาติก็จะมีหน่วยงานทางด้านตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากรเพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับเที่ยวรถไฟที่เชื่อมระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมาด้วย
เรามาดูรายละเอียดของสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคายกันครับ ตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย อยู่บริเวณสถานีรถไฟในปัจจุบัน ระหว่างถนนมิตรภาพ (เข้าเมืองหนองคาย) และถนนศูนย์ราชการ-บ้านนาไก่ ซึ่งตรงนี้อยู่หลังศูนย์ราชการเมืองหนองคาย สะดวกในการเดินทางพอสมควร เอาจริงๆ สถานีรถไฟหนองคายพึ่งย้ายมาจากตำแหน่งเดิมบริเวณริมแม่น้ำโขงในตลาดหนองคาย เมื่อปี 2545 และเลิกสถานีตลาดหนองคาย และเปิดสถานีหนองคาย เป็นสถานีปลายทางของสายอิสานเหนือไปเมื่อปี 2551 พร้อมกับการเปิดขบวนรถไฟข้ามสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง ในปี 2552 จึงทำให้สถานีหนองคายเป็นสถานีที่ค่อนข้างใหม่ และพร้อมรองรับรถไฟทางคู่อยู่แล้ว ในโครงการทางคู่เลยใช้สถานีเดิม
รูปแบบตัวสถานีรถไฟความเร็วสูงเป็นอาคาร 3 ชั้น
เป็นรูปแบบอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายปัจจุบัน ผ่านทางสะพานลอยข้ามชานชาลามีทางเข้าออก 2 ด้าน คือ
- ทางเข้าหลัก อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ด้านฝั่งถนนมิตรภาพ ติดถนนใหม่ ซึ่งเชื่อมระหว่าง ถนนมิตรภาพ (มุ่งหน้าเข้าเมือง) กับถนนศูนย์ราชการ-บ้านนาไก่
- ทางเข้ารอง อยู่บริเวณทิศตะวันออก ติดถนนเลียบทางรถไฟ ซึ่งเป็นด้านสถานีรถไฟหนองคายในปัจจุบัน และต้องเดินข้ามชานชาลาสถานีรถไฟหนองคาย มาเพื่อเข้าสถานีรถไฟความเร็วสูงหนองคาย
ชั้นที่ 1 ชั้นขายตั๋ว ซึ่งจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน คือ
- โซนผู้โดยสารภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นแกนกลางของตัวอาคารสถานีชั้น 1 พร้อมกับพื้นที่จำหน่ายตั๋วและเชื่อมกับบันไดเลื่อนขึ้นชั้น 2 ไปที่พื้นที่โถงรอโดยสาร
- โซนผู้โดยสารระหว่างประเทศ จะแบ่งเป็น ขาเข้าและขาออก ขาเข้าอยู่ด้านทิศเหนือของสถานี และขาออกอยู่ด้านทิศใต้ของสถานีในพื้นที่ขาเข้าและขาออก จะมีจุดตรวจและหน่วยงานตามเกณฑ์การเข้า-ออกประเทศ เช่น ด่านควบคุมโรง, ด่านตรวจคนเข้าเมือง, ด่านตรวจพืชและสัตว์, ด่านตรวจอาหารและยา และสุดท้ายเป็นด่านศุลกากร
ซึ่งกระบวนการนี้จะเทียบเท่ากับการตรวจของสนามบินระหว่างประเทศเลย แต่ในฝั่งขาออก จะมีพื้นที่โถงรอโดยสารเพื่อให้ผู้โดยสารรอก่อนขึ้นชานชาลาเมื่อรถไฟมา และจากจุดนี้ จะขึ้นตรงไปที่ชานชาลาระหว่างประเทศ ชั้น 3 เลย ชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่โถงพักคอยผู้โดยสาร ของรถไฟความเร็วสูง ก่อนขึ้นรถไฟ เมื่อรถมาเข้าจอด ซึ่งจะมีทั้งห้องติดแอร์ และไม่ติดแอร์ เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร รวมถึงเป็นพื้นที่ติดตั้งงานระบบของสถานีรถไฟความเร็วสูง ชั้น 3 เป็นชานชาลา มีทั้งหมด 5 ชานชาลา โดยแบ่งเป็น ในประเทศ 4 ชานชาลาและ ระหว่างประเทศ 1 ชานชาลา แต่มีทางรถไฟ 6 ทาง ซึ่งมี 1 ทางผ่านสถานีไปโดยไม่มีชานชาลาไปสถานีรถไฟนาทาเพื่อให้มีทางรถไฟรองรับรถไฟสินค้าที่จะข้ามสถานีมุ่งหน้าไปจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา (Transhipment)
รูปแบบการออกแบบภายนอกสถานี
การออกแบบหลัก อาคารเป็นรูปแบบโมเดิร์นผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นในรายละเอียด โดยดึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมา เช่น พญานาค, คลื่นน้ำ, แม่น้ำโขง และหวดนึ่งข้าวเหนียว มาใช้เป็นรูปแบบหลักของการออกแบบสถานี รูปแบบหลังคาด้านหน้าบริเวณจุดส่งผู้โดยสาร ทำเป็นรูปแบบจั่ว 3 หลัง มีจั่วหลัก 1 และจั่วรอง 2 ซึ่งเป็นการจำลองมาจากรูปปั้นพญานาคแผ่พังพาน มาลดทอนรายละเอียด ให้เหมือนเป็นรูปปากพญานาค ตัวฟาซาดสถานี ใช้รูปแบบคลื่นน้ำ ร่วมกับ ลายของเครื่องจักรสานหวดนึ่งข้าวเหนียว มาทำเป็นลายข้างอาคารสถานี ด้านหน้าสถานีมีการนำรูปปั้นพญานาคมาจัดร่วมกับการวางบ่อน้ำเพื่อให้สร้างรูปร่างเป็นพญานาคหน้าสถานี
การตกแต่งภายในสถานี
มีการใช้ลวดลายของรูปปั้นพญานาค และลายเกล็ดพญานาคมาตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถานี โทนสี น้ำตาลดิน, ฟ้า และขาว มาเป็นสีหลักในการตกแต่ง ภายในตัวสถานี ตั้งแต่พื้นที่จำหน่ายตั๋ว มาจนถึงห้องพักคอยผู้โดยสาร
รูปแบบทางวิ่ง
สถานีเป็นทางยกระดับ โดยจะยกระดับตั้งแต่จุดตัดถนน211 ก่อนถึงสถานีรถไฟบ้านสองห้อง ผ่านสถานีหนองคาย และมุ่งหน้าไปสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมกับทางรถไฟลาว แต่จะมีช่วงสถานีนาทา ที่รถไฟจากฝั่งลาวจะขนสินค้ามาเปลี่ยนรถที่ไปจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา (Transhipment)
ใครอยากเสนอแนะ หรือสอบถามรายละเอียด สามารถติดต่อไปที่ปรึกษาได้ตามรายละเอียดข้างล่างครับ
เพจ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
เว็บไซต์ https://www.hsrkorat-nongkhai.com
โพสต์เดิมของโครงการ
EP.0 ภาพรวมโครงการ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/980167002421779/?d=n
EP.1 สถานีบัวใหญ่
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/985342105237602/?extid=D3wSWRSXwwjAm2I2&d=n
EP.1.1 สถานีบัวใหญ่แบบใหม่
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1021137021658110/?extid=5S3bHITCNOhuw1hZ&d=n
EP.2 สถานีบ้านไผ่
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/991362061302273/?extid=5K0T4bTYwFrbJJBQ&d=n
EP.2.1 สถานีบ้านไผ่แบบใหม่
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1022187604886385/?extid=sJoYSw6JKk1zENIE&d=n
EP.3 สถานีขอนแก่น
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/999163853855427/?extid=2cFmpqH4jgKQjDzX&d=n
EP.3.1 สถานีขอนแก่นแบบใหม่
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1029283167510162/?extid=V0vh1MGgLtAGzdZP&d=n
EP.4 สถานีอุดรธานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1034803743624771/?extid=0&d=n