-
ขอแสดงความยินดีกับ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี คนใหม่195 view 2020-11-02 08:51:10
-
กกร.อุดรธานี ถกประเด็นเศรษฐกิจหาแนวทางแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19 การเมือง และการว่างงาน207 view 2020-11-02 08:03:49
- สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก 2020-11-02 07:25:19
- นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรฯ ร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาหอการค้าจังหวัด หอการค้าไทย ครั้งที่ 4/2559 2016-07-14 04:38:17
- หอการค้าอุดรฯ เตรียมจัด “ประกวดแผนธุรกิจ” ประจำปี 2559 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 2016-07-08 02:16:43
- หอการค้าอุดรฯ เตรียมจัด “สุดยอดการติวความรู้สู่มหาวิทยาลัย” ปีที่ 9 2016-07-08 02:00:37
- หอการค้าอุดรฯ จับมือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จัด “SME Expo Spring Up Thailand” 2016-07-08 01:45:52
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ถกประเด็นและติดตามความคืบหน้าโครงการในการประชุม กรอ.อุดรธานี 2016-07-07 09:29:38
- ดร.สมศักดิ์ ขจรเฉลิมศักดิ์ เข้ารับรางวัล "ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดยอดเยี่ยม" 2016-06-06 08:23:07
- หอการค้าจังหวัดอุดรธานี ขอเชิญร่วมงาน “เอสเอ็มอี มาร์เก็ตเพลส - ไทยช่วยไทยบายประชารัฐ” 2016-06-06 06:13:53
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนสิงหาคม 2563
- Details
- Category: ข่าวสารหอการค้า
- Hits: 201
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดอุดรธานี ประจำเดือนสิงหาคม 2563
“เครื่องชี้เศรษฐกิจจังหวัดเดือนสิงหาคม 2563 บ่งชี้เศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี มีสัญญาณชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยด้านอุปทาน (การผลิต) ชะลอตัวจากภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว โดยที่ภาคบริการหดตัว ตามจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจโรงแรมและนักท่องเที่ยวรวมที่หดตัวสูง ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมขยายตัว สำหรับด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) ชะลอตัวจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว ตามรายจ่ายประจำและลงทุนที่ขยายตัว ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบจากหมวดพลังงาน”
เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) พบว่า มีสัญญาณชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจาก ภาคอุตสาหกรรม ชะลอตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -0.2 ตามภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดที่ชะลอตัว ภาคบริการ หดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคบริการหดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจโรงแรมและนักท่องเที่ยวรวมที่หดตัวสูง เป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนยังคงหลีกเลี่ยงการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย ภาคเกษตรกรรม ขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตยางพาราที่ขยายตัว เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) มีสัญญาณชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจาก การบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ หดตัวร้อยละ -20.0เป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้สินค้าคงทนยังคงหดตัว การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัวโดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากจำนวนสินเชื่อเพื่อการลงทุนรวมชะลอตัวร้อยละ 1.5 ตามภาวการณ์ลงทุนในจังหวัดที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว โดยดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนขยายตัวร้อยละ 34.6 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง และกองบัญชาการกองทัพไทย สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจำขยายตัวร้อยละ5.3 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีที่เป็นหน่วยเบิกจ่ายผ่านระบบ GFMIS
ด้านรายได้เกษตรกรในจังหวัด พบว่า รายได้เกษตรกรชะลอตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากราคาสินค้าเกษตรรวมหดตัวร้อยละ -7.2 โดยเฉพาะราคามันสำปะหลังที่หดตัวร้อยละ -9.8 เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพไม่ดี ประกอบกับลานรับซื้อไม่สามารถตากมันเส้นได้ จึงส่งผลให้ราคามันสำปะหลังหดตัว
ด้านการเงิน พบว่า ปริมาณเงินฝากรวมขยายตัวร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากเงินฝากออมทรัพย์ตามมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ สำหรับปริมาณสินเชื่อรวมชะลอตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า จากสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง และมาตรการพักชำระหนี้ที่ชะลอตัว
เสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจังหวัดอุดรธานี เดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 จากการลดลงของดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ได้แก่ หมวดน้ำมันเชื้อเพลิง หมวดเคหสถานและหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา
ด้านการคลัง ในเดือนสิงหาคม 2563 พบว่า ผลการจัดเก็บรายได้เดือนสิงหาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 390.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่อุดรธานี สำนักงานธนารักษ์พื้นที่อุดรธานี และส่วนราชการอื่น จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลการจัดเก็บรายได้ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากการขยายเวลาในการยื่นแบบฯ สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 1,715.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน จำนวน 655.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง และกองบัญชาการกองทัพไทย สำหรับผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ จำนวน 1,059.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีเป็นหน่วยเบิกจ่ายผ่านระบบ GFMIS สำหรับฐานะการคลัง พบว่า ดุลเงินงบประมาณเดือนสิงหาคม 2563 ขาดดุล จำนวน 1,324.3 ล้านบาท เนื่องจากมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำนวน 1,715.0 ล้านบาท มากกว่าการจัดเก็บรายได้ซึ่งมีจำนวน 390.7 ล้านบาท
ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนสิงหาคม 2563
ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
หมายเหตุ : ข้อมูลผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของจังหวัดอุดรธานี ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ต่ำกว่าเป้าหมายเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่มติ ครม.กำหนด เป็นผลมาจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 และต้องเข้าสู่กระบวนการหักงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อนออกจากงบประมาณรายจ่าย ปี 2563 สำนักงบประมาณจึงจะจัดสรรงบประมาณพ.ศ. 2563 ซึ่งแต่ละหน่วยงานเริ่มทยอยจัดสรรในเดือนมีนาคม 2563
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจัดสรรตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป
สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนสิงหาคม 2563
ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) หน่วยงานที่มีรายจ่ายลงทุน วงเงินตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 12 หน่วยงาน รวมรายจ่ายลงทุน 2,330.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.7 ของงบรายจ่ายลงทุนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจัดสรรตั้งแต่ 10 ถึง 100 ล้านบาท
สะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนสิงหาคม 2563
หน่วย : ล้านบาท
ที่มา : รายงาน MIS จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)
หน่วยงานที่มีรายจ่ายลงทุน วงเงินตั้งแต่ 10 ถึง 100 ล้านบาท จำนวน 15 หน่วยงาน รวมรายจ่ายลงทุน
438.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 ของงบรายจ่ายลงทุนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (Economic and Fiscal) รายเดือน
ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจ
หมายเหตุ : ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นข้อมูลตัวแทนเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัด ซึ่งได้ข้อมูลจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ภูฝอยลม, อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท /1 = ปริมาณผลผลิตเกษตรที่ยังไม่ได้ปรับฤดูกาล /2 = พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างรวม ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี /3 = สินเชื่อเพื่อการลงทุน คำนวณจาก (สินเชื่อรวม*30)/100 /4 = ดัชนีรายจ่ายภาครัฐ รวมรายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /5 = การจ้างาน ได้ข้อมูลมาจากข้อมูลจำนวนผู้มีงานทำจากโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ /p = ข้อมูลเบื้องต้น /n.a.= ไม่มีข้อมูล
ตารางที่ 2 เครื่องชี้การคลัง
ที่มา : สรรพากรพื้นที่อุดรธานี สรรพสามิตพื้นที่อุดรธานี ธนารักษ์พื้นที่อุดรธานี และส่วนราชการอื่นในจังหวัดอุดรธานี โดยนำส่งผ่านระบบ GFMIS
รวบรวมโดย : สำนักงานคลังจังหวัดอุดรธานี