-
การรวมหนี้..เพื่อลดภาระลูกหนี้รายย่อย27 view 2021-02-01 05:34:23
-
โครงการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย27 view 2021-02-01 05:07:35
- “เซ็นทรัลพัฒนา” ชูกลยุทธ์การตลาด Q1 ลุยทุ่มงบ 200 ล้านบาท 2021-02-01 04:30:33
- ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย แต่งตั้ง พอล วอง ชี คิน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 2021-01-25 03:32:56
- เยี่ยมสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน 2021-01-22 08:50:17
- เซ็นทรัลอุดรธานี ชวนทุกคนเดินเที่ยว กิน ช้อปที่งาน "สุดสัปดาห์มาร์เก็ต" 2021-01-22 08:45:12
- ผู้ว่าฯ อุดรธานี รับมอบเตียงผู้ป่วย ที่นอนลม เครื่องดูดเสมหะ ก่อนส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียง 2021-01-22 08:27:58
- บัตร “บสย. Digital+” สแกนง่าย จ่ายแม่น 2020-10-21 09:42:26
- สมาคมสตรีอุดรธานี จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 2020-10-15 09:52:00
- เปิดบูธ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในงานมหกรรมการเงินอุดรธานี 2020-10-12 08:41:09
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ยกระดับผู้ประกอบการ SMEs
- Details
- Category: ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
- Hits: 19
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ยกระดับผู้ประกอบการ SMEs จัดอบรมเพิ่มองค์ความรู้หลักสูตร "Lean Automation สู่การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบอัตโนมัติ"
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. นายอำนาจ พินิจการวัฒน์กุล กรรมการหอการค้าจังหวัดอุดรธานี ร่วมพิธีเปิดการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้วยองค์ความรู้ Lean Automation หลักสูตร "Lean Automation สู่การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบอัตโนมัติ" ภายใต้โครงการ 17.1-1 การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าประจำปีงบประมาณ 2564 ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2564 โดยมี นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 เป็นประธานเปิดงาน มีหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้สนใจ เข้าร่วมอบรม ที่ห้องมุขมนตรี โรงแรมเจริญโฮเต็ล
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "Lean Automation สู่การเพิ่มมูลค่าด้วยระบบอัตโนมัติ" ภายใต้โครงการ 17.1-1 การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าประจำปีงบประมาณ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการระบบอัตโนมัติ และระบบการผลิต (Lean Automation & Manufacturing) และเพื่อให้ผู้ประกอบการนำระบบอัตโนมัติและระบบการผลิตไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม การผลิต การบริการและการค้า
โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเพื่อปรับปรุงกระบวนการ ลดเวลาในกระบวนการ ลดเวลาในการเปลี่ยนแม่พิมพ์หรืออุปกรณ์ (Idle Time, Down Time, SMED) ลดของเสีย (Damage Part, Defect Part, Re-Work, Reject, Scrapt) เพิ่มกำหร เพิ่มกำลังการผลิต ลดแรงงานสูญเปล่า (People Loss Time, People Cost) ลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร จำนวนครั้งที่เครื่อง Break down วัดประสิทธิภาพคนละเครื่องจักร (OEE) ลดค่าพลังงานไฟฟ้าสูญเปล่า (Eletricity Energy Loss) ลดเวลาในการแก้ไขปัญหา ลดเวลาในการบริหารจัดการ (Diagnostics, Problem Solving) โดยการควบคุมและติดตามด้วยเครื่องมือ Toyota Praduction System (TPS), IoT, Robotics, Machine Monitoring System, Kaizen, Big Data, AI และการวัดประสิทธิภาพเครื่องจักร (OEE Measuring) ซึ่งการฝึกอบรมมีระยะเวลา 2 วัน คือ วันที่ 12-13 มกราคม 2564 มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน จาก 20 กิจการ