-
กกพ.ลดค่าเอฟทีงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2560 ลง 4 สตางค์ เป็นอัตรา -37.29 สตางค์ต่อหน่วย913 view 2017-06-13 09:10:19
-
ทุ่งกังหันลมห้วยบง ทุ่งกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย1953 view 2016-06-02 08:18:27
- ภูมิปัญญาชาวบ้าน หม่ำ ต้นแบบถนอมอาหารด้วยแสงอาทิตย์ของอีสาน 2016-06-02 08:05:02
- สาระดี Freiburg ชุมชนต้นแบบในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานทดแทน 2016-06-02 07:36:49
- ไฟฟ้าเรื่องน่ารู้ ควบคู่งานกำกับ 2016-06-02 04:52:44
- มาตรฐานสัญญานบริการไฟฟ้า 2016-01-06 06:07:56
- สุดยอดโรงไฟฟ้าพลังงานขยะต้องที่สวีเดน 2016-01-06 04:21:00
- เกาะพะลวย เกาะพลังงานสะอาดแห่งแรกของไทย 2016-01-06 04:02:32
- โคมไฟพลังงานสาหร่าย เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแสงสว่าง 2015-05-15 09:09:10
- เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกันเถอะ 2015-05-15 08:49:46
โซลาร์รูฟท็อป ธรรมศาสตร์นำร่องพลังงานสะอาดเพื่ออนาคต
- Details
- Category: ความรู้ด้านพลังงาน
- Hits: 1121
โซลาร์รูฟท็อป ธรรมศาสตร์นำร่องพลังงานสะอาดเพื่ออนาคต
การผลิตพลังงานสะอาดใช้เองเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งความกล้า และความมุ่งมั่นถือเป็นการสวนกระแสบริโภคนิยมที่นับวันมนุษย์จะทำให้โลกร้อนมากขึ้นทุกที และวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้ลงมือทำแล้ว ด้วยการลงทุนติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง โดยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 4 ของโลกที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มาที่สุด
วันนี้ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยั่งยืน ได้เปิดใจกับทีมงานวารสาร กกพ.คนกำกับ พูดคุยถึงที่มาที่ไปของโครงการดังกล่าวได้อย่างน่าสนใจ
โมเดลบริหารพลังงานเพื่ออนาคต
ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นโดยทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน และกลายเป็นภัยคุกคามที่น่าเป็นห่วงยิ่ง
"บรรยากาศโลกจะถูกคุลมไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาขึ้นๆ และผลของมันก็ทำให้โลกนั้นร้อนขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นผลที่ตามมา เราอยากเปิดแอร์ห้องเรียน เปิดไฟห้องทำงาน เปิดคอมพิวเตอร์ ด้วยความสบายใจว่าเราไม่ทำให้โลกแย่ไปมากกว่านี้" ดร.ปริญญา กล่าวถึงที่มาของโมเดล
รองอธิบดีเล่าถึงรูปแบบการดำเนินงานคือ ให้เอกชนมาลงทุนโซลาร์รูฟท็อปแล้วขายไฟฟ้าให้ในราราเดียวกันกับที่ซื้อจากการไฟฟ้าฯ โดยวิธีการเปิดแข่งขัน จนในที่สุดโครงการมูลค่า 750 ล้านบาท ก็ตกเป็นของบริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) โดยมหาวิทยาลัยจะได้เงินกลับคืนมา 10 เปอร์เซ็นต์ จากที่จ่ายค่าไฟฟ้าตามที่ใช้จริงให้กับบริษัท ระยะเวลาของสัญญาคือ 21 ปี เมื่อครบกำหนดทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของมหาวิทยาลัย
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเอเชียที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสดงอาทิตย์มากที่สุ 3 อันดับแรก เป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา คือ Colby College (30เมะวัตต์) Arizona State University (24 เมกะวัตต์) และ University of California (16 เมกะวัตต์) โดยภายในปี 2560 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 4 ของโลก และจะเป็นอันดับ 1 ของเอเชียในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ใช้ฟ้าประมาณปีละ 70 ล้านหน่วย เฉลี่ยวันละประมาณ 190,000 หน่วย คิดเป็นเงินราว 300 ล้านบาทต่อปี หากโครงการนี้ติดตั้งครบทั้งหมด 15 เมกะวัตต์ จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยวันละ 7,500 หน่วย เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์" ดร.ปริญญาเล่าให้วารสาร กกพ.คนกำกับฟังถึงการใช้และการผลิตไฟฟ้าในมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีโครงการพลังงานสะอาดอีกมากมาย เช่น สวนสาธารณะพลังงานแสงอาทิตย์ ร้านกาแฟพลังงานแสงอาทิตย์ ธนาคารขยะ การผลิตไบโอแก๊สจากเศษอาหาร พร้อมทั้งมีแผนงาน เตรียมขยายพื้นที่การติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปไปยังศูนย์ต่างๆ ทั้งหมด ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์พัทยา และศูนย์ลำปาง โดยในปี 2560 นี้ ทางมหาวิทยาลัยเตรียมนำร่องโครงการทดแทนพลังงานจากคลื่นจากเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและโรงไฟฟ้าจากขยะ
วันนี้ ธรรมศาสตร์ ริเริ่มแล้ว เชื่อแน่ว่าอีกไม่นานสถาบันการศึกษาของไทยจะตื่นตัวและหันมาพัฒนาพลังงานสะอาดกันมากขึ้น โดยไม่ต้องรอรับการอุดหนุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
ข้อมูลจาก วารสาร กกพ.คนกำกับ
ปีที่ 6 ฉบับที่ 22 ธันวาคม 2559-กุมภาพันธ์ 2560
คอลัมน์ สตาร์ทอัฟ หน้า 21